Sponsored


Wednesday, February 27, 2013

มาดูกับมาดาม: ประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 85

มาดูกับมาดาม: ประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 85
สวัสดีค่ะคุณผู้อ่าน วันหยุดยาวที่ผ่านมาไปเที่ยวไหนมาบ้าง มาดามไม่ได้ออกนอกเขตเมือง อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนและเข้าวัดวาบ้างตามประสา ขออนุญาตอนุโมทนาบุญกับทุกคนนะคะอย่างไรก็ดี...นอกจากได้พักผ่อนหย่อนใจและได้บุญกันถ้วนหน้า ยังมีเหตุการณ์สำคัญที่คนทั่วโลกตั้งตารอคืองานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 85 ซึ่งจัด ณ นครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา งานนี้เหล่าคนดังในวงการภาพยนตร์ทั่วโลก ทั้งที่ได้รับการเสนอชื่อและรับเชิญเป็นสักขีพยานต่างหลั่งไหลเข้างานอย่างไม่ขาดสาย สีสันของงานนอกจากผลรางวัลคงหนีไม่พ้นแฟชั่นบนพรมแดง...ใครเป็นใครลองชมกันได้ มาดามเก็บมาให้ยลพอหอมปากหอมคอ(จากซ้ายไปขวา) Charlize Theron, Sandra Bullock, Samantha Barks, Amy Adamsมาถึงสาระสำคัญของงาน ได้แก่ผลรางวัลที่หลายท่านรอคอย เริ่มกันที่รางวัลจิ๊บๆ จ้อยๆ อย่างเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม (Visual Effect) ถ้าสังเกตดีๆ สาขานี้จะมีรายชื่อภาพยนตร์ที่ไม่ค่อยเหมือนกับสาขาอื่นๆ ปีนี้ก็เช่นกัน เรื่องที่เข้าชิงได้แก่ The Avengers, The Hobbit: An Unexpected Journey, Prometheus และ Life of Pi แต่ผลไม่ผิดโผ ตัวเต็ง ‘Life of Pi’ คว้าไปได้...แหมเสือเขาเหมือนจริงอะไรจริง คุณๆ ท่านไหนยังไม่ได้ชมต้องลองหาดูค่ะ แนะนำว่าดูแบบจอใหญ่ๆ จะดีมาก พิสูจน์ที่ว่าเสือเหมือนจริงน่ะ...จริงแค่ไหน!(จากซ้ายไปขวา) Jennifer Lawrence, Jessica Chastain, Anne Hathaway, Adeleมาถึงรางวัลประเภทเสียงเพลง...แบ่งออกเป็น 4 สาขาย่อย ได้แก่ ตัดต่อเสียง (Sound Editing), ประกอบเสียง (Sound Mixing), เพลงประกอบภาพยนตร์ (Original Soundtrack) และดนตรีประกอบภาพยนตร์ (Original Scoring)...สาขาตัดต่อเสียงผู้ชนะมีสองเรื่องได้แก่ ‘Skyfall’ และ ‘Zero Dark Thirty’ สาขาประกอบเสียงได้แก่ตัวเต็งอย่าง ‘Les Miserables’ ส่วนเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมก็ไม่พลิกโผ ‘Skyfall’ โดย Adele และ Paul Epworth คว้าไปครองตามความคาดหมาย และสาขาดนตรีประกอบได้แก่ ‘Life of Pi’...ถือว่าไม่พลิกล็อกมาก โดยเฉพาะ Skyfall กวาดไปถึงสองสาขา ใครที่ไม่เคยฟังต้องลองหาดู รับรองว่าติดหู เหมือนเราวิ่งเล่นในหนังชุดเจมส์ บอนด์...ภาพบันทึกการแสดงสดของ Adele ในเพลง Skyfall ที่ได้รับการเสนอชื่อและคว้ารางวัลไปได้ตามความคาดหมายต่อมาคือรางวัลองค์ประกอบศิลป์ แบ่งเป็น 3 สาขาย่อยได้แก่ แต่งหน้าและออกแบบทรงผม (Makeup and Hairstyling) ออกแบบเสื้อผ้า (Costume Design) และออกแบบงานสร้าง (Production Design)...สาขาแรก ‘Les Miserables’ คว้ารางวัลไปได้ ส่วนสาขาต่อมาได้แก่ ‘Anna Karenina’ และสาขาสุดท้ายได้แก่ ‘Lincoln’ ...สำหรับรางวัลด้านนี้อาจมีพลิกล็อกนิดหน่อย เพราะความจริงคืออาจไม่โดนใจผู้ชมหลายท่าน (รวมทั้งมาดาม) อันที่จริงก็สูสีกันหลายเรื่องโดยเฉพาะสาขาออกแบบเครื่ิองแต่งกาย สังเกตว่าหนังอิงประวัติศาสตร์มักคว้ารางวัลเสมอ ปีนี้ก็เช่นกัน เรื่องราวอื้อฉาวของภรรยาผู้นำรัสเซียถูกนำมาสร้างสรรค์อย่างวิจิตรงดงาม เรื่องอื่นๆ ก็ใช่ย่อยแต่เข้าใจว่าศิลปะแบบรัสเซียคงเป็นของใหม่บนเวทีออสกา ร์...แต่จะเริ่ดสมที่ได้รางวัลหรือไม่นั้น คุณๆ ต้องตัดสินกันเองการแสดงสดของทีมนักแสดงจาก Les Miserables...ใครที่ยังไม่เคยชม ชิมลางกันก่อนได้ที่นี่!มาที่องค์ประกอบภาพ มี 2 สาขาย่อยได้แก่ ลำดับภาพ (Film Editing) และกำกับภาพ (Cinematography)...สาขาแรกได้แก่ William Goldenberg จาก ‘Argo’ ซึ่งเขาได้รับการเสนอชื่อจากเรื่อง ‘Zero Dark Thirty’ ด้วย นับว่าเป็นปรากฏการณ์ค่ะ ส่วนสาขากำกับภาพได้แก่ Claudio Miranda จาก ‘Life of Pi’...ถือว่าสมศักดิ์ศรีสำหรับสองสาขานี้ มาดามอาจผิดหวังนิดหน่อยเพราะแอบเชียร์ Roger Deakins ผู้กำกับภาพจาก Skyfall เนื่องจากชื่นชอบมุมกล้องที่ดูผสมผสานกลมกลืนกับเรื่องเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นก็ไม่เสียใจ เพราะ Claudio Miranda จาก ‘Life of Pi’ ก็ใช่ย่อย มุมกล้องสวยๆ ที่ทำให้การหลงท่ามกลางทะเลลึกแลมีมนต์ขลัง...อยากรู้ว่าจริงหรือเปล่าคงต้องลองพิสูจน์กัน(ซ้าย)นักแสดงนำและผู้กำกับจาก Amour (ขวา) ภาพประกอบจาก Braveรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศได้แก่ ‘Amour’ จากประเทศออสเตรียตามความคาดหมาย หลังกวาดรางวัลจากหลายสถาบันรวมทั้งเวทีลูกโลกทองคำ ส่วนรางวัลภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยมได้แก่ ‘Brave’ จาก Pixar Animation Studio ในเครือดิสนีย์ เรื่องราวการผจญภัยของเจ้าหญิงองค์น้อย เนื้อหาคงไม่แปลกและแตกต่างมากแต่คุณภาพภาพและองค์ประกอบศิลป์อื่นๆ ต่างหาก ที่แสนจะไม่ธรรมดา...ใครที่เป็นคอหนังแอนิเมชั่นไม่ควรพลาด!Christopher Waltz (ซ้าย) และ Jamie Foxx จาก Django Unchainedมาถึงรางวัลใหญ่กันบ้าง เริ่มที่รางวัลขีดๆ เขียนๆ อย่างบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมซึ่งแบ่งเป็น 2 สาขาย่อยได้แก่ บทภาพยนตร์ดั้งเดิม (Original Screenplay) และบทภาพยนตร์ดัดแปลง (Adapted Screenplay)...สำหรับรางวัลแรก Quentin Tarantino จากเรื่อง ‘Django Unchained’ คว้าไปได้ ส่วนสาขาบทดัดแปลงก็เป็นไปตามโผ ได้แก่ Chris Terrio จาก ‘Argo’...ขอบอกว่าสุดยอดทั้งคู่ คนแรกคงไม่ต้องพูดอะไรมากเพราะเป็นที่นับหน้าถือตาในวงการว่าเป็นเจ้าพ่อหนังแนว ส่วนคนถัดมาเป็นหน้าใหม่ของวงการ...แต่เชื่อหรือไม่ว่าสามารถคว้ารางวัลจาก บทเรื่อง Argo ถึง 12 สถาบัน!...เชื่อแล้วว่าดีจริง ลองชมกันดู รับรองว่าครบรสAng Lee ผู้กำกับยอดเยี่ยมแห่งปีจาก Life of Piมาที่รางวัลด้านการแสดง...ประกอบด้วยผู้กำกับและนักแสดงรวม 5 สาขาย่อย เปิดตัวด้วยผู้กำกับยอดเยี่ยมได้แก่ Ang Lee จาก ‘Life of Pi’ นับเป็นครั้งที่สองหลังคว้ารางวัลสาขานี้มาแล้วจาก Brokeback Mountain ในปี 2005 เฉือนชนะตัวเต็ง Davis O.Russell จาก ‘Silver Linings Playbook’ และ Steven Spielberg จาก ‘Lincoln’ อย่างหวุดหวิด...รางวัลต่อมาคือนักแสดงประกอบชายหญิง ฝ่ายชายได้แก่ Christopher Waltz จาก ‘Django Unchained’ ส่วนฝ่ายหญิงเป็นตามโผคือ Anne Hathaway จาก ‘Les Miserables’...รางวัลนักแสดงนำชายหญิง ฝ่ายชายได้แก่ Daniel Day-Lewis จาก ‘Lincoln’ ส่วนฝ่ายหญิง Jennifer Lawrence จาก ‘Silver Linings Playbook’...ที่น่าจับตาคือรางวัลของฝ่ายหญิง ถือว่าเป็นปีทองของสองนาง Anne Hathaway กับ Jennifer Lawrence โดยเฉพาะรายหลังที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นครั้งที่สองหลังจากครั้งแรกในปี 2011 จาก Winter’s Bone นับว่าความสามารถไม่ธรรมดา น่าจะอนาคตไกล...สี่ดาราผู้คว้ารางวัลออสการ์ (จากซ้ายไปขวา) Danial Day-Lewis, Jennifer Lawrence, Anne Hathaway, Christopher Waltzและแล้วก็ถึงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เชื่อว่าหลายคนรู้แล้วว่า ‘Argo’ คว้าไปได้...เรามาทวนกันสักนิดว่าปีนี้มีเรื่องใดเข้าชิงบ้าง Amour, Beasts of the Southern Wild, Django Unchained, Les Miserables, Life of Pi, Lincoln, Silver Linings Playbook และ Zero Dark Thirty ซึ่งแต่ละเรื่องก็ได้รางวัลในสาขาอื่นเฉลี่ยกันไป...รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปีนี้ถือว่าไม่ผิดความคาดหมายนัก เพราะอย่างที่เคยบอกว่ากระแสตะวันออกกลางกำลังมาแรง ซึ่งปีนี้มีทั้งเรื่องจากอิหร่าน (Argo) และปากีสถานกับอัฟกานิสถาน (Zero Dark Thirty) ที่สำคัญเป็นแนวอิงเรื่องจริง โดยหยิบเรื่องราวเล็กๆ ในหน้าประวัติศาสตร์มาทำเป็นเรื่องดราม่า สำหรับมาดามเสน่ห์หนังประเภทนี้คือความสมจริงของบรรยากาศและการสร้างตัวละคร (ในกรณีที่ไม่มีการบิดเบือนความจริงมาก) ความท้าทายอยู่ที่การสร้างเรื่องจริงให้มีความเป็นหนังมากที่สุด และ ‘Argo’ ก็ทำได้ดีทีมสร้าง Argo ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี (จากซ้ายไปขวา) William Goldenberg, Ben Affleck, George Clooneyหวังว่าผลรางวัลคงถูกใจใครหลายคน ถ้าไม่โดนหรือไม่แน่ใจก็อยากให้เปิดใจค่ะ ลองหามาชมหรือหยิบมาดูอีกสักครั้ง เผื่อพบเสน่ห์ของเรื่องเหล่านี้ อย่างน้อยๆ ก็ได้ความเพลิดเพลินและที่สำคัญ...เรื่องราวดีๆมักให้อะไรกับเราเสมอค่ะจนกว่าจะพบกันสัปดาห์หน้ามาดามอองทัวร์Twitter: @MadamAutuerข้อมูลและภาพประกอบ: www.imdb.com, http://oscars.go.com  

No comments:

Post a Comment

Blog Archive