Sponsored


Wednesday, January 23, 2013

มาดูกับมาดาม:Les Miserablesความงามของวรรณกรรมท่ามกลางผู้ตกทุกข์ได้ยาก

มาดูกับมาดาม:Les Miserablesความงามของวรรณกรรมท่ามกลางผู้ตกทุกข์ได้ยาก
“I had a dream my life would be, so different from this hell I’m living,so different now from what it seemed, now life has killed the dream I dreamed”“ฉันฝันจะมีชีวิตต่างจากนรกที่กำลังเผชิญต่างจากปัจจุบันและจากที่มันควรเป็น แต่บัดนี้ชีวิตได้ฆ่าความฝันที่ฉันเคยฝันถึงไปแล้ว”Fantine, เพลง I Dreamed A Dream ประกอบภาพยนตร์ “Les Miserables”สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านที่รัก ครั้งแรกที่ได้ยินซูซาน บอยล์ (Susan Boyle) นักร้องสาวจากเวที British Got Talent ร้องเพลงนี้ในรอบคัดเลือกเมื่อหลายปีก่อน มาดามถึงกับขนลุกซู่ทีเดียวค่ะ น้ำเสียงของเธอช่างทรงพลัง สะกดคนดูทั้งในฮอล์และหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างเราๆ เสียอยู่หมัด...และนั่นเป็นครั้งแรกเช่นกันที่มาดามได้ทำความรู้จักกับเพลงประกอบละครเวทีชื่อดังก้องโลกอย่าง “Les Miserables”ภาพโปสเตอร์จากละครเวทีชุด Les Miserablesก่อนว่ากันด้วยเรื่องอรรถรสของเวอร์ชั่นภาพยนตร์ เรามาว่ากันคร่าวๆ ถึงประวัติของ “Les Miserables” (เป็นภาษาฝรั่งเศส อ่านว่า เล มิสเซราบ) กันสักนิดดีกว่าค่ะ วรรณกรรมเรื่องนี้ถูกเขียนขึ้นช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 (1862) โดยนักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส วิกเตอร์ ฮูโก้ (Victor Hugo) มีเนื้อหาเพื่อติดตามชีวิตอันแร้นแค้นของบรรดา “ผู้ตกทุกข์ได้ยาก” หรือ “ผู้ซึ่งได้รับความอยุติธรรม” จากสังคมอันโหดร้ายในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของฝรั่งเศส (1815-1832) รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองฝรั่งเศส (คอลัมน์ต่วยตูนสเปเชียล ชื่อตอน Les Miserables กับหนังหน้าประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส)ภาพเขียนเล่าเรื่องการปฏิวัติฝรั่งเศสในช่วงต้นศตวรรษที่ 19วรรณกรรมชิ้นนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2503 โดย ‘จูเลียต’ หรือคุณชนิด สายประดิษฐ์ (ภรรยาคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามปากกา ‘ศรีบูรพา’) ครั้งนั้นเนื้อหาต้นฉบับที่มีทั้งหมดห้าเล่มถูกแปลเป็นภาษาไทยเพียงสองเล่ม โดยใช้ชื่อว่า “เหยื่ออธรรม” อีกสามเล่มที่เหลือได้รับการรวบรวมและแปลขึ้นใหม่ในยุคต่อมา ซึ่งครั้งล่าสุดแปลครบทั้งห้าเล่มโดยคุณวิภาดา กิตติโกวิท ในปีพุทธศักราช 2553 และใช้ชื่อเดิมแต่มีการเติมคำว่าฉบับสมบูรณ์ต่อท้าย ถ้าคุณผู้อ่านท่านใดสนใจอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ในรูปแบบของหนังสือ สามารถหาอ่านดูได้...ลองดูซิว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้วรรณกรรมชิ้นนี้มีชื่อเสียงไปทั่วโลก มาดามพอมีสมมติฐานแต่ขออนุญาตอุบไว้ก่อน ระหว่างนี้ก็ลองคิดดูกันเล่นๆภาพเขียนจากประวัติศาสตร์และฉากใหญ่ในภาพยนตร์กลับมาที่เนื้อหาของ “Les Miserables” ตัวละครสุดลำเค็ญคนสำคัญของเรื่อง คือ ฌอง วาลฌอง (Jean Valjean นำแสดงโดย Hugh Jackman) หนุ่มใหญ่ที่เป็นนักโทษอยู่หลายปี ด้วยข้อหาขโมยขนมปังเพื่อประทังชีวิตตนเอง และหลานน้อย เขาได้รับการปล่อยตัวและตัดสินใจหนีทัณฑ์บนเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ วาลฌองกลับตัวกลับใจจนได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการประจำเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง แต่ก็หนีไม่พ้นการไล่ล่าของนายตำรวจเถรตรง ฌาแวร์ (Javert นำแสดงโดย Russell Crowe) ที่ปฏิญาณจะขอตามล่าวาลฌองมาดำเนินคดีเพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม วาลฌองหนีรอดไปได้พร้อมพันธสัญญากับอดีตโสเภณี ฟอนทีน (Fantine นำแสดงโดย Anne Hathaway) ที่จะรับอุปการะโคเซ็ตต์ (Cosette นำแสดงโดย Amanda Seyfried) ลูกสาวของเธอวาลฌองและโคเซ็ตต์ ความผูกพันของทั้งสอง กลายมาเป็นปมหลักปมหนึ่งของเรื่องวาลฌองจะหนีการไล่ล่าของฌาแวร์ได้หรือไม่ และชีวิตของโคเซ็ตต์จะดำเนินต่อไปเช่นไร คุณผู้อ่านต้องหาโอกาสไปชมกันค่ะ รับรองว่าเนื้อหาดราม่าจะทำให้คุณๆ เสียน้ำตาได้ไม่ยาก แต่เสน่ห์ของเรื่องนี้ไม่ได้หมดแค่ความเข้มข้นของเนื้อหา แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายอย่างHugh Jackman และ Anne Hathaway สองดารานำสำคัญของเรื่องอย่างแรกคือวิธีการนำเสนอ เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกดัดแปลงมาจากละครเวที ลักษณะโดดเด่นสำคัญที่ผู้สร้างต้องเก็บไว้คือเรื่องของการร้องและการแสดงแบบจัดเต็มทั้งสีหน้าท่าทางและอุปกรณ์ประกอบฉาก อุปสรรคสำคัญหนึ่งอย่างที่ผู้ชมบางคนอาจไม่ชอบใจคงเป็นเรื่องของภาษา วรรณกรรมที่สวยงามแต่ฟังเข้าใจยาก เนื่องจากเป็นภาษาเก่า (แถมเป็นภาษาอังกฤษอีกต่างหาก) แม้จะมีซับไทยก็ยังเหนื่อยเพราะค่อนข้างลึกซึ้งและต้องการการตีความ พูดง่ายๆ คือต้องตั้งใจดูสักนิด ความยาวเรื่องค่อนข้างยาว เพราะฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่าชอบหนังเบาสมองหรือว่าไม่ชอบหนังที่มีบทพูดเยอะ เรื่องนี้อาจไม่ใช่สำหรับคุณ...แทนที่จะปลื้มอาจจะหลับเสียก่อนHugh Jackman ในสภาพของอดีตนักโทษที่หนีทัณฑ์บนความพิเศษต่อมาของ “Les Miserables” หรือ “เหยื่ออธรรม” ในเวอร์ชั่นภาพยนตร์นี้คือการที่ผู้กำกับ (Tom Hooper, The King’s Speech (2010)) ให้นักแสดงร้องเพลงและบันทึกเสียงแบบสดๆ ระหว่างถ่ายทำ ไม่ใช่การลิปซิงหรืออัดเสียงไว้ล่วงหน้าอย่างที่ภาพยนตร์แนวเดียวกันชอบทำก่อนหน้านี้ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อนักแสดงจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกได้อย่างชัดแจ้งและสมจริงมากขึ้น ซึ่งก็กระแทกความรู้สึกดีค่ะ เสียงร้องแบบติดๆ ขัดๆ เหมือนร้องไม่ชัดเพราะสะอึกสะอื้นกระทบอารมณ์ได้ดี พูดง่ายๆ คือไม่ fake เหมือนการใส่เสียงที่ตกแต่งดีแล้วลงไป แถมยังได้กลิ่นอายของมิวสิคัลอีก...นับว่าน่าประทับใจค่ะสามนักแสดงสมทบผู้สร้างสีสันได้เป็นอย่างดี (จากซ้ายไปขวา) Russell Crowe, Samantha Barks, Daniel Huttlestoneองค์ประกอบสุดท้ายที่คงไม่พูดถึงไม่ได้คือเรื่องของนักแสดงที่เวอร์ชั่นภาพยนตร์นี้ได้ทีมนักแสดงแม่เหล็กที่ดี ฝีมือการแสดงไม่ต้องพูดถึง เพราะทั้งสามผ่านเวทีรางวัลสำคัญในวงการภาพยนตร์มาหลายครั้ง ทั้ง Hugh Jackman ที่สามารถตีบทของวาลฌองได้อย่างถึงใจ Anne Hathaway ผู้รับบทโสเภณีผู้ยากไร้ เธอร้องเพลง ‘I Dreamed A Dream’ ได้อย่างสะเทือนใจคนดู และคนสุดท้ายที่เซอร์ไพรส์สุดๆ สำหรับมาดามคือ Russell Crowe เพราะไม่เคยคิดว่าดาราหนุ่มเสียงแหบจะร้องเพลงได้ทุ้มและนุ่มนวล แม้จะสวมบทเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้เคร่งครัด แต่เขาก็ทำออกมาได้ดี นอกจากนี้ยังมีดาราสมทบคุณภาพอีกมากมายที่สร้างสีสันให้กับเรื่อง รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่ๆ ค่ะครอบครัว Thenardier จอมเจ้าเล่ห์ที่รับเลี้ยงโคเซ็ตต์ให้ฟอนทีนกลับมาที่เรื่องปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรื่องนี้มีชื่อเสียงไปทั่วโลก นอกจากถูกสร้างเป็นละครเวทีโดยคณะที่มีชื่อเสียงระดับโลกแล้ว โดยส่วนตัวมาดามคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของเนื้อหาที่สะเทือนใจคนดู ใจความหลักเหมือนเป็นการตั้งคำถามกลายๆ ถึงเส้นแบ่งระหว่างความดีกับความเลว ขอบเขตของความถูกต้องและความเป็นธรรม รวมไปถึงเรื่องของจิตวิญญาณและสามัญสำนึกของมนุษย์ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ผู้เขียน (ในกรณีภาพยนตร์คือผู้สร้างและผู้กำกับ) ทำให้เราๆ ท่านๆ มองเห็นความดีงามของจิตใจและความอยุติธรรมในสังคมที่แฝงมาในรูปแบบต่างๆ ทั้งเรื่องของการตราหน้า ติฉินนินทา แบ่งพรรคแบ่งพวก หรือแม้กระทั่งการกีดกันทางชนชั้นหรือสถานะทางสังคม ตัวละครหลักทั้งสามได้รับผลกระทบจากการกระทำอันไร้ซึ่งความยุติธรรมดังกล่าว จนชะตาชีวิตพลิกผันกลายเป็นทาสของความคิดหรือการกระทำอันโหดร้ายรักสามเส้าก็มีนะเรื่องนี้น่ะ...ดราม่าครบรสจริงๆความงามในเรื่องของภาษา แม้ฟังเข้าใจยากแต่ว่าลึกซึ้ง กลายเป็นความโดดเด่นที่สร้างความประทับใจให้บรรดาผู้ชมทั่วโลก แม้เนื้อหาหลักจะเป็นเรื่องชีวิตสุดลำเค็ญของตัวละครเอก และฉากหลังเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในฝรั่งเศส แต่สิ่งที่ผู้ชมได้รับคือภาพสะท้อนสภาพสังคมและคุณภาพชีวิตที่ดำเนินอยู่ ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้เลือนหายจากโลกนี้แต่แฝงมาในรูปแบบที่ต่าง จากเดิม เรียกง่ายๆ ว่าประเด็นเรื่องความไม่เป็นธรรมในสังคมมีความเป็นสากลสูง ไม่เคยหายและไม่เคยตายไปจากเรา ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย ความเลวร้าย (และดราม่ามากๆ) ของเนื้อหาถูกนำเสนอในรูปแบบภาษาที่สวยงามน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้วรรณกรรมเรื่องนี้จับตาและจับใจคนดูมาตลอด เพราะความขัดแย้งที่ว่าน่าจะดึงความสนใจและสะเทือนอารมณ์มากกว่า เรียกง่ายๆ ว่าเหมือนการพูดประชดแดกดันด้วยถ้อยคำสวยหรูมันบาดจิตมากกว่าการด่าทอต่อหน้าเป็นไหนๆ หรือคุณผู้อ่านว่าไม่จริงคะ...จนกว่าจะพบกันใหม่สัปดาห์หน้าค่ะมาดามอองทัวร์Twitter: @MadamAutuerตัวอย่างภาพยนตร์ ‘Les Miserables’ (2012)ข้อมูลและภาพประกอบ: www.imdb.com, http://pracob.blogspot.com, http://weread.in.th, (คอลัมน์ต่วยตูนสเปเชียล ชื่อตอน Les Miserables กับหนังหน้าประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส)

No comments:

Post a Comment

Blog Archive